|
ประกาศ ซื้อ - ขาย พระเครื่อง |
|
|
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด |
[36738223] |
|
|
|
ร้านพระเครื่องทั้งหมด |
[258] |
|
|
พระเครื่องทั้งหมด |
[10459] |
|
|
|
ลงประกาศฟรีทั้งหมด |
[1518] |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[
อยากปล่อย ]
พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ปี 2499 |
|
|
|
ความต้องการ |
: |
อยากปล่อย |
ราคา |
: |
80,000 บาท |
วันที่ลงประกาศ |
: |
25 สิงหาคม 2562 19:22:43 |
อัพเดทล่าสุด |
: |
16 ธันวาคม 2562 20:30:11 |
ผู้ลงประกาศ |
: |
คุณธนา จันทิ |
ที่อยู่ |
: |
บางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี |
เบอร์โทรศัพท์ |
: |
0982145696,0958614869 |
อีเมล์ |
: |
krapukstang@gmail.com |
เข้าชม |
: |
925 ครั้ง |
ไอพี |
: |
119.76.4.149 |
|
|
|
|
|
รายละเอียดเพิ่มเติม |
|
พระพุทธชินสีห์ มีความหมายว่า พระผู้ชนะพระยาราชสีห์ หรือ พระผู้ชนะซึ่งงามสง่าประดุจพระยาราชสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา ในปี พ.ศ.1500 โดยพระเจ้าศรีธรรม ไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก กระทั่งถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ.2372
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงผนวชและครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ พระองค์ทรงเคารพพระพุทธชินสีห์มาก ทรงทูลขอพระบรมราชานุญาต เพื่ออัญเชิญ พระพุทธชินสีห์ มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ ฝังพระเนตรฝังเพชรที่พระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ เมื่อปี พ.ศ.2393 ต่อมาในปี พ.ศ.2397 โปรดให้หล่อฐานด้วยทองสำริด ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน แล้วให้จัดการสมโภช 5 วัน
พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหารหรือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ สร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2499 ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ) องค์พระราชอุปัชฌาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และในพิธีเททองหล่อพระกริ่งในครั้งนั้น ได้ทรงอาราธนาพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์โดยเสด็จฯ แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ซึ่งทรงพระประชวร ดังบันทึกตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร ได้กล่าวถึงการสร้างพระกริ่ง 7 รอบไว้ดังนี้... ...วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 20.30 น. เสด็จฯ พระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัดถวายเทียนชนวน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา 20.36 น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย ...วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 07.30 น. เสด็จฯ ศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัชกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว 84 แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา 07.41 น. ทรงถือสายสิญจน์ ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
มวลสารสำหรับหล่อพระครั้งนี้ประกอบด้วย แผ่นยันต์ลงอักขระและโลหะที่ใช้ผสมสำหรับหล่อพระก็ล้วนแต่เป็นโลหะมงคลทั้งสิ้น อาทิ เศษชิ้นส่วนพระพุทธรูปโบราณที่ชำรุด ทองเหลืองเนื้อแดง ขันลงหิน เงินบริสุทธิ์ และทองคำบริสุทธิ์ ที่นำมารีดเป็นแผ่นเพื่อลงอักขระที่เรียกว่า แผ่นทองคำเปลว
พระพุทธชินสีห์จำลองที่หล่อนี้มี 2 แบบคือ เป็นพระบูชาหน้าตัก 4 นิ้วครึ่งแบบหนึ่ง และเป็นพระกริ่งหน้าตัก 1.7 ซ.ม.แบบหนึ่ง หล่อขึ้นสำหรับงานบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุครบ 84 พรรษาบริบูรณ์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ พระราชอุปัชฌายาจารย์ ต่อมาอีก 2 วัน คือวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลาผนวช พระกริ่ง 7 รอบ รุ่นนี้จึงถือได้ว่า เป็นพระกริ่งเพียงรุ่นเดียวที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพิธีเททองขณะทรงผนวช และหล่อด้วยพระองค์เอง
พระกริ่ง 7 รอบ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับนั่งบนอาสนะฐานซึ่งเป็นบัวเล็บช้าง ด้านหลังองค์พระมีกลีบบัว 2 คู่ และมีเลข ๗ ไทยลึกลงในเนื้อพระปรากฏให้เห็นอยู่ตรงที่ฐาน ทำให้พระกริ่ง 7 รอบมีเอกลักษณ์เฉพาะ จนกลายเป็นที่มาของชื่อที่ใช้เรียกพระกริ่งรุ่นนี้ ใต้ฐานมีรอยอุดกริ่งขนาดใหญ่กว้างประมาณขนาดแท่งดินสอ เนื้อองค์พระเป็นโลหะผสม มี 2 กระแส คือ กระแสเนื้อออกแดง และเนื้อออกเหลือง มีจำนวนการสร้างเพียง 500 องค์ ด้านแบบของพระกริ่ง 7 รอบนั้น จำลองมาจากพระพุทธชินสีห์ พระประธานในอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งนายช่างผู้ออกแบบปั้นหุ่นคือ นายช่างมนตรี พัฒนางกรู แห่งพัฒนช่าง
พระกริ่ง 7 รอบ นับเป็นพระกริ่งมหามงคลซึ่งมีคุณวิเศษ 5 ประการ คือ... 1.เป็นพระกริ่งรุ่นเดียวที่เททองโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 2.เป็นพระรุ่นเดียวที่เททองโดยพระภิกษุภูมิพโล (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ขณะทรงผนวช) 3.เป็นพระกริ่งที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชรูปที่ 13 ซึ่งเป็นพระราชอุปัชฌาจารย์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 4.เป็นพระกริ่งที่สร้างร่วมกันระหว่างประมุขแห่งศาสนจักรและประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย 5.เป็นพระกริ่งที่จำลองรูปพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดบวรนิเวศและเป็นพระกริ่งที่สวยงามที่สุดองค์หนึ่ง
ที่มา : นายกองตรีอ้วน songphakan@gmail.com ------------------------------------------------------
พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ปี 2499 พระองค์นี้เป็น 1 ใน 500 องค์ รูปหน้าสวยคมชัด รอยยุบตามธรรมชาติ กริ่งดัง บัวมีรอยการจับเพื่อตะไบ หายากสุดๆสภาพสวยแบบองค์นี้ เหมาะสำหรับเก็บไว้บูชาอย่างยิ่งครับ... ราคาเปิดให้บูชา 80,000 บาท.....สำหรับการการันตี ก็ตามมาตรฐานสากลครับ... (ถ้าไม่แน่ใจ มาดูด้วยตาตัวเองก็ได้ครับ เพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่าย) สนใจติดต่อสอบถามพูดคุยกันได้นะครับ...ที่เบอร์โทร 0982145696,0958614869 (อยู่ที่...บางบัวทอง จ.นนทบุรี ครับ.) ------------------------------------------------------
|
แสดงความคิดเห็น แจ้งลบ |
|
ความคิดเห็น |
|
|
|
|