พระภาวนาพิศาลเถร
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดปาสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
พระภาวนาพิศาลเถร
เดิมชื่อ พุธ อินทรหา เกิดปี ระกา
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๔ ณ
ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อพร มารดาชื่อสอน
มีอาชีพทำไร่ทำนา และค้าขาย เมื่อท่านอายุได้ ๔ ขวบ บิดามารดาก็ถึงแก่กรรม
ท่านจึงอาศัยอยู่กับญาติ เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ ได้เข้าโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง
ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน
และจบชั้นประถมปีที่ ๖ เมื่ออายุ ๑๔ ปี
ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี
ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอินทร์สุวรรณ ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน
โดยมีท่านพระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์
และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ เป็นพระบรรพชาจารย์
ท่านได้จำพรรษาอยู่กับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์
และได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์ให้ศึกษาด้านปริยัติธรรมและสอบได้นักธรรมตรีในพรรษาแรกนั้นเอง
หลังออกพรรษา
เป็นเหตุบังเอิญที่ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง)
ได้เดินธุดงค์มายังจังหวัดสกลนคร ในฐานะเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร
และได้เกิดความเมตตาต่อท่าน
ท่านจึงมีโอกาสได้เดินธุดงค์ติดตามท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร
ออกจากอำเภอสว่างแดนดินไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสมัยนั้นทางคมนาคมยังไม่สะดวก
ต้องเดินด้วยเท้าตามทางเกวียนและผ่านป่าเขาใช้เวลาถึง ๑๓ วัน
จึงถึงจังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี
ได้พักที่วัดบูรพาราม เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์พร ซึ่งท่านอาจารย์พรนี้เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ
และขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพาราม
ท่านจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์
และได้รับการอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดบูรพารามนี่เอง ท่านได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมและสอบได้นักธรรมเอกเมื่ออายุ
๑๘ ปี
ต่อมา พ.ศ.๒๔๘๓
ท่านอาจารย์เสาร์ได้พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดอุบลราชธานีเข้ากรุงเทพฯ
และพาไปฝากตัวให้ท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสปทุมวนารามอบรมสั่งสอน
ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี และสอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรนั่นเอง
ท่านจำพรรษาที่วัดปทุมวนารามนี้
จนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบท ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ
(หนู) เป็นผู้อุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “ฐานิโย”
ปี พ.ศ.๒๔๘๗
ท่านกลับไปอยู่จังหวัดอุบลราชธานีและจำพรรษาที่วัดบูรพาราม และเกิดอาพาธหนักเป็นวัณโรคอย่างแรง
ขณะนั้นท่านอาจารย์ฟั่นได้มาจำพรรษาที่วัดบูรพาราม
ตามคำสั่งของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน)
ท่านอาจารย์ฟั่นได้สอนให้ท่านเพ่งอาการ ๓๒ โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด
ปี พ.ศ.๒๔๙๐
ท่านไปจำพรรษที่เขาสวนกวาง ขณะนั้นอาการป่วยยังไม่หายขาด
ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารเตือนว่า คุณอย่าประมาท รีบเร่งปฏิบัติเข้าให้ได้ภูมิจิต
ภูมิใจอนาคต คุณจะไปนั่งเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง
หลังจากหายป่วยอย่างเด็ดขาด
ท่านได้รับแต่งตั้ง ดังนี้
พ.ศ.๒๔๙๕
เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นเจ้าอาวาสวัดแสนสำราญ
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๐๐
เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๕๑๑
เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ
พ.ศ.๒๕๑๓
เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาละวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ปัจจุบันท่านเป็นที่ปรึกษาของเจ้าคณะจังหวัดฝ่ายธรรมยุต
ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่
“พระภาวนาพิศาลเถร”
หลวงพ่อพุธ
เป็นอริยสงฆ์และนักพัฒนา ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง เช่น
สร้างโรงเรียน สระน้ำฝน ประปา ไฟฟ้า ริเริ่มจัดตั่งมูลนิธิโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
เพื่อสาธารณกุศล ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจน สร้างกำแพงรอบวัด ปลูกต้นไม้
สร้างถนนและบ่อน้ำประปาภายในวัด ฯลฯ
ในการบรรยายธรรมท่านมีกลเม็ดแนะนำสั่งสอนสาธุชนให้เข้าใจด้วยถ้อยคำที่เป็นสำนวนง่าย
ๆ มีตัวอย่างเปรียบเทียบที่ทันสมัยและเป็นวิทยาศาสตร์
เช่น เรื่องการปฏิบัติหน้าที่และการทำบุญท่านได้อธิบายว่า “ในเมื่อเราปฏิบัติได้
สวดมนต์ ภาวนา ทำสมาธิ จิตสงบ ความเป็นศิริมงคลก็จะเกิดที่บ้านของเราเอง
ถ้าทำแต่ในวัด ได้ดิบได้ดีในวัด ความดีก็ไหลเข้าวัดหมด
รุ่งเรืองแต่ที่วัดแห่งเดียว ชาวบ้านพากันยากจน ก็ไม่ดี”
“ใครไม่มีโอกาสทำบุญกับพระ ก็ไปทำบุญกับคุณพ่อคุณแม่ให้ข้าวให้น้ำบูชาคุณ
พยายามทำบ้านของตนให้เป็นวัด ก็จะมีความสุขความสงบทั่วกัน”
“สำหรับข้าราชการนั้น
เมื่อเราได้รับหน้าที่ใดก็ให้พยายามปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาอย่าไปนึกว่าเป็นลูกจ้างรัฐบาล
อย่าไปนึกว่าเป็นลูกจ้าเขา ให้นึกว่าเราทำบุญ”
พระสงฆ์ข้าราชการนั้น
เมื่อเราได้รับหน้าที่ใดก็ให้พยายามปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาอย่านึกว่า
เขาจะให้เท่าไหร่หนอ เขาจะให้อะไรเราบ้าง
ก็เหมือนเราไปรับจ้างเขาสวดไปรับจ้างเขาเทศน์
การเผยแพร่อบรมธรรมก็ไม่เกิดประโยชน์
เพราะพระทำตัวเป็นลูกจ้าง ถ้าเรานึกว่าได้หรือไม่ได้ไม่สำคัญ
เราไปเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นบุญ เป็นกุศลแก่ตัว”
วัตถุมงคลหลวงพ่อพุธมีจำนวนมากมายหลายประเภท
ทั้งที่ทางวัดจัดสร้างและเอกชนกับส่วนราชการจัดทำแล้วนำไปให้ท่านปลุกเสก เช่น
เหรียญ พระผง ลอกเก็ต พระกริ่ง รูปหล่อ รูปเหมือนบูชา เป็นต้น
ทุกประเภทมีพุทธคุณพร้อมเกือบทุกด้านโดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดได้รับการกล่าวขวัญเป็นพิเศษ
รุ่นที่นิยมกันในแวดวงพระเครื่องได้แก่
๑.
เหรียญพระพุทธบาท
(ตีนโต) เนื้อทองแดง สร้างแจกเมื่อครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ขณะที่ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี “พระครูพุทธิสารสุนทร”
๒.
เหรียญดีเซลราง
สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๘ โดยคณะศิษย์พนักงานรถไฟดีเซลรางนครราชสีมา
มีทั้งเนื้อทองคำ เงิน และทองแดง
๓.
เหรียญสี่เหลี่ยม
(ใหญ่) หันข้าง ครบรอบ ๕๘ ปี ธนาคารเอเชียจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒
|