พระครูจันทรสรคุณ (เสี่ยง)
อดีตเจ้าคุณอำเภอคง
วันจันทรรังสีมุณีวงษ์ (เสมาใหญ่)
ประวัติและภูมิหลัง
นามเดิม เสี่ยง เกิดปี พ.ศ.๒๔๑๐
ที่บ้านเสมาใหญ่ ตำบลดอนตะหนิน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โยมบิดาชื่อ บุญตา
ตำแหน่งเสมียน โยมมารดาชื่อจันทร์
เมื่ออายุ ๘ ขวบ
บิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสืออยู่ที่วัดเสมาเหนือ (วัดน้อย) กับหลวงพ่อมุ่ง
ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๒๕ อายุได้ ๑๕ ปี ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดนี้เอง
ได้เล่าเรียนหนังสือกับอุปัชฌาย์มี ปัญญาแตกฉาน ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ อายุได้ ๒๐ ปี
ได้อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดเสมาใหญ่ เจ้าอธิการแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เอาะ
เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หนู (แหง่ม) เป็นอุเทศาจารย์
เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดเหนือ
เมื่อออกพรรษาได้ไปเรียนหนังสือมูลบทศัพท์แปลที่วัดหนองแขม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
๑ ปี แล้วไปเรียนต่อที่จังหวัดหนองคาย ๘ ปี จนจบหลักสูตรในสำนักนั้น
ต่อมารได้ป่วยเป็นโรคเหน็บชา จึงได้กราบลาอาจารย์กลับมาพักรักษาตัวจนหาย ด้วยความเพียรพยายามยังเห็นว่าความรู้ที่ได้ไปเรียนยังไม่พอจึงกราบลาอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาปริยัติธรรมและมูลจัจจายต่อที่กรุงเก่า พักอาศัยอยู่ที่วัดพนมยงค์ จังหวัดอยุธยารวม ๘
ปี จนสำเร็จการศึกษาบริบูรณ์ในสมัยนั้น
จากนั้นท่านก็ได้ปฏิบัติธรรมวิปัสสนาธุระในฤดูแล้งได้ออกเดินรุกขมูลไปตามภูเขาและถ้ำนานถึง
๗ ปี ในการออกรุกขมูลท่านได้เล่าเรียนวิชาการกับอาจารย์ต่าง ๆ
จนแก่กล้าหลังจากที่ได้เห็นว่าอยู่ป่าพอแกความต้องต้องการแล้ว
จึงได้กลับมาจำพรรษายังบ้านเกิดเมืองนอน และได้ถูกอาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาส
เนื่องจากอุปัชฌาย์แก้วได้มรณภาพลง
กิจกรรมต่าง ๆ
ที่ท่านได้ปฏิบัติเมื่อเป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้มีการอบรมศีลธรรมแก่ชาวบ้านสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานชาวบ้านได้ศึกษา
สมเด็จพระโพธิวงศาจารย์ในขณะนั้น ได้ออกตรวจราชการได้มาแวะทีวัดนี้เห็นกิจการต่าง
ๆ ในวัดเจริญรุดหน้าและเรียบร้อยจึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์วิเชียร
ต่อมาเลื่อนเป็นพระครูกรรมการศึกษาใน พ.ศ.๒๔๗๙
ในปี พ.ศ.๒๔๘๑
ได้รับตราตั้งให้เป็นพระครูจันทรสรคุณ เจ้าคณะอำเภอคง เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๘๑
วัตถุมงคลและเกียรติคุณหลวงพ่อ
หลวงพ่อเป็นผู้มีญาณแก่กล้ามีลูกศิษย์ลูกหามากมาย
เกือบเรียกได้ว่าทั้งจังหวัดนครราชสีมากล่าวขวัญถึงท่าน
ในระหว่างท่านมีชีวิตอยู่ท่านได้สร้างวัตถุมงคลมากมายเช่น
๑. เหรียญรูปเหมือนทำด้วยทองแดง
๒.
ผงรูปเหมือนของท่าน
๓.
ผ้ายันต์
วัตถุมงคลต่าง ๆ
ที่ผู้มาขอไปใช้ติดตัวต่างได้รับประสบการณ์ที่น่าประหลาดและเหลือเชื่อหลายอย่างอาทิ
นายดี ทวีฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านวังโพธิ์
อำเภอคง ถูกผู้ร้ายอาวุธครบมือรุมทำร้าย ด้วยอาวุธปืนแต่ไม่เป็นอันตรายอะไรเลย
และอีกประการหนึ่งในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่
เวลามีงานประจำปีของวัดจะมีคนหลั่งไหลมาทุกสารทิศ มากราบเคารพและขอเครื่องรางของขลังของท่านเป็นจำนวนมาก
จนบริเวณวัดเต็มไปหมด (ในเวลานั้นการไปมาลำบากต้องใช้เกวียนเป็นพาหนะ
ดังนั้นในบริเวณวัดจึงเต็มไปด้วยเกวียนพักแรม)
อวสาน
ตลอดเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ได้พัฒนาวัด
สร้างโรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาการเปรียญ ต่อเติมกุฏิและสร้างโบสถ์
และปกครองลูกวัดด้วยความเรียบร้อยจนกระทั่งวันพุธที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๙๘
ท่านได้มรณะภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ ๘๘ ปี พรรษาที่ ๖๘ |