พระกริ่งเฉลิมพลฯ ปี”2505 ใต้ฐานโค้ดลายเซ็น “เฉลิมพล” จัดสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะ (กลับดำ) ครั้นเสร็จจากพิธีเสด็จ ท่านได้ถวายพระกริ่งซึ่งสำเร็จขึ้นมีพุทธลักษณะงดงามให้กับวัดช้างให้จำนวน 300 องค์ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า “พระกริ่งใหญ่หลวงปู่ทวด” หรือ “พระกริ่งวัดช้างให้” ส่วนที่เหลือทรงนำมาถวายให้วัดตาก้อง ด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรนั้นท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง และปลุกเสกอีกวาระโดยเกจิอาจารย์ สายนครปฐม ผู้คนเรียกกันว่า “พระกริ่งเฉลิมพล” ซึ่งทั้งสองประเภทได้รับความนิยมแสวงหาจากนักสะสมอย่างยิ่ง และต่อมาผู้คนก็พลอยเรียกพระกริ่งของวัดช้างให้ว่าพระกริ่งเฉลิมพลไปด้วย แต่หากพิจารณากันแล้วกริ่งที่แยกกันดังกล่าวมีส่วนต่างกันก็คือ พระกริ่งเฉลิมพล วัดตาก้อง จะมีการอุดกริ่งที่ฐานและมักจะมีการตอกหมาย เลขกำกับ พร้อมโค้ดลายเซ็น “เฉลิมพล” ซึ่งอาจจะ มีเพียงตัวเลข หรือพระนามอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ บางองค์พบว่ามีเพียงโค้ดตัว ฉ ตอกกำกับ บางองค์ไม่ตอกก็ยังมี นื่องด้วยเสด็จพระองค์ชายกลางฯ ได้จัดสร้างพระกริ่งให้วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ถวายท่านอาจารย์ทิม ปลุกเสกในปี พ.ศ.2505 พร้อมกับพระเครื่อง หลวงปู่ทวดรุ่นอื่นๆ ที่โด่งดังในปัจจุบัน และด้วยความที่พระองค์ท่านทรงเป็นศิษย์ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จึงได้แบ่งพระกริ่ง ส่วนหนึ่ง จาก วัดช้างให้ หลังจากที่ท่านอาจารย์ทิม ได้ปลุกเสกแล้ว มามอบให้วัดตาก้อง จ.นครปฐม เพื่อเปิดให้บูชา และ หาทุนทรัพย์ในการสร้างกำแพงวัดตาก้อง โดย ได้มีการจัดพิธีมหาพุทธภิเษก อย่ายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยมีการนิมนต์ พระเกจิอาจาร์ชื่อดัง ของ จังหวัดนครปฐม และ พื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก อาทิเช่น 1 หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 2 หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม 3 หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 4 หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา 5 หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พระกริ่ง เฉลิมพล จัดสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะ (กลับดำ) ชั้นดี ส่วนพระกริ่งวัดช้างให้นั้นบรรจุเม็ดกริ่งแบบกริ่งนอก คือคว้านก้นใส่เม็ดกริ่งแล้ว อุดฐาน ลักษณะของพระกริ่งเฉลิมพลทั้งสองวัด เป็นการเทหล่อแบบโบราณจึงมีคราบดินขี้เบ้าปรากฏ มีการแต่งบ้างเล็กน้อย พุทธลักษณะงดงาม องค์พระประทับนั่ง ปางมารวิชัย สมาธิเพชร พระ หัตถ์ซ้ายทรงวชิระหรือหม้อน้ำมนต์ เป็นแม่พิมพ์แบบไม่ประกบจึงไม่มีรอยประกบด้านข้าง องค์พระค่อนข้างเพรียวยาว พระเนตรนูนเป็นตาเนื้อ อุณาโลมเป็นเม็ดกลม ด้านหลังไม่มีกลีบบัว กระแสจะออกทางแดงอมน้ำตาล มักพบรอยตะไบแต่งขอบข้างเป็นริ้วบางๆ ปัจจุบัน “พระกริ่งเฉลิมพล” เป็นที่เสาะแสวง หาของบรรดาผู้นิยมสะสมพระเครื่องครับ |