PraKrueng.com

สมาชิกเข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้งาน  
รหัสผ่าน  
ลืมรหัสผ่าน สมัครสมาชิก
หน้าแรก รายการพระเครื่อง ร้านพระเครื่อง ประมูลพระเครื่อง ลงประกาศฟรี การชำระเงิน ติดต่อเรา
หน้าหลักร้าน
รายการพระเครื่องทั้งหมด
รายการประมูลพระเครื่อง
คำแนะนำ ติชม
ติดต่อร้าน
พระเครื่องทั้งหมด 2684 รายการ
จำนวนผู้เข้าชมร้านค้า 108090 ครั้ง
Arrow ข้อมูลการติดต่อ
อนันต์พุทธคุณบางพระ
เจ้าของร้าน คุณนายอนันต์ ภิญโญวรพจน์
ที่อยู่ 54/12 ม.2 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20110
เบอร์โทรศัพท์ 0827116746
Email : boriphat2556@gmail.com
Arrow ข้อมูลบัญชีธนาคาร
ชื่อบัญชี นายอนันต์ ภิญโญวรพจน์
เลขที่บัญชี 653-2-06836-1
ธนาคาร กสิกรไทย
สาขา บางพระ ชลบุรี
ประเภทบัญชี ออมทรัพย์
พระกรุ [114]
พระเหรียญ [6274]
พระเนื้อผง/ดิน [2199]
พระรูปหล่อ [773]
พระบูชา [125]
พระเนื้อชิน [11]
เครื่องรางของขลัง [439]
ล็อกเก็ต [68]
พระปิดตา [181]
อื่นๆ [65]
ผู้เข้าชมทั้งหมด [21186079]
สมาชิกทั้งหมด [426]
ร้านพระเครื่องทั้งหมด [263]
พระเครื่องทั้งหมด [10249]
ประมูลทั้งหมด [25]
ลงประกาศฟรีทั้งหมด [1533]
วิธีการประมูล
ราคา Bid Card
สนใจลงโฆษณาคลิกที่นี่

ค้นหา พระเครื่อง ร้านพระเครื่อง ประมูลพระเครื่อง ลงประกาศฟรี
เหรียญสมโภช ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี๒๕๑๑


ติดต่อบูชาเดี๋ยวนี้ โทร. 0827116746 (เจ้าของพระ)

ข้อมูลพระเครื่อง
หมวดหมู่พระเครื่อง : พระเหรียญ
ประเภท : พระเครื่องทั่วไป
สถานะ : พร้อมเช่า
ราคา : 700 บาท
วันที่ประกาศ : 27 ตุลาคม 2558 13:56:22
อัพเดทล่าสุด : 27 ตุลาคม 2558 13:56:22
จำนวนผู้เข้าชม : 902 ครั้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Arrow รายละเอียด
เหรียญสมโภช ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม พ.ศ.๒๕๑๑
ประวัติการสร้างเหรียญ
....วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511
.....ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511
.....ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511
.....โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ พระพุทธรูป - พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ - เหรียญ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชา
**โลหะที่จะนำมาจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้นั้น คณะกรรมการมีแนวคิดว่าด้วยเหตุที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่ พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างเป็น พระอารามหลวง และมีอายุการสร้างมายาวนานถึง 100 ปี
.....ประกอบกับ “สมเด็จพระสังฆราช (จวน)” เจ้าอาวาสในขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา อีกทั้งวัดมกุฏกษัตริยารามยังมิเคยจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในส่วนของพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย ดังนั้นการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้จึงนับเป็นการสร้าง “ครั้งหนึ่งครั้งเดียว” จึงควรแสวงหา “โลหะวัตถุที่ดี ที่สุด” ในขณะนั้นมาเป็นเนื้อหาการจัดสร้าง
.....และโดยที่ทรงเป็น “สกลมหาสังฆปริณายก” พระราชา คณะหรือเจ้าคณะและเจ้าอาวาสรวมทั้งพระคณา จารย์ทั่วราช อาณาจักรกว่า 500 รูป ก็ยินดีถวายโลหะวัตถุที่ได้ปลุกเสกไว้แล้ว
.....รวมทั้งถวายแผ่นโลหะชนิดต่าง ๆ ที่มีการลงอักขระยันต์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย เพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ
.....ซึ่งหลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อน
.....จากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” และนำเหรียญมาปลุกเสก ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม
***พิธีเททองครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที
.....โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น
- หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
- หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
- หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
-หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
- หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
- หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น
.....โดยพิธีการจัดสร้างเป็นปฐมฤกษ์นั้นจะ มีเพียง “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง”
.....ส่วน “พระชัยวัฒน์” เป็นพิธีกรรมการจัดสร้างที่เรียกว่า “พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สอง” โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นองค์ประธานในการเททองหล่อด้วยพระองค์เอง
.....ซึ่งเป็นการหล่อสืบเนื่องจากที่เสด็จพระราชดำเนินหล่อ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” โดย “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ที่หล่อเสร็จแล้วล่วงหน้าทางคณะกรรมการได้นำมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สองนี้ อีกด้วย
**พิธีเททองครั้งที่ 2 นี้ ได้จัดประกอบพิธีในพระวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม ถึง 3 วัน 3 คืนคือระหว่าง วันอังคารที่ 9 ถึงวันพฤหัส บดีที่ 11 มกราคม 2511
- โดยสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงจุดเทียนชัยเวลา 15.21 น. ในวันที่ 9 มกราคม 2511
- แล้วเสด็จออกเททองหล่อ “พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” ในเวลา 15.29 น.
.....มีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญ พุทธาภิเษก อาทิ
- หลวงปู่นาควัดระฆังฯ กท.
- หลวง พ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อเส่งวัดกัลยา กท.
- หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอยสุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ฟั่นอาจาโรวัดป่าอุดมสมพร
- หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูมชลบุรี
- หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่องเชียงใหม่
- หลวงพ่อพุธฐานิโย วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
- หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาดอุดรธานี
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ ชลบุรี
- หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
- หลวงปู่เทียม วัดกษัตราพระนครศรีอยุธยา
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น
**ส่วนวัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้ประกอบด้วย
1. “พระพุทธรูปพระพุทธวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะไทยประยุกต์ผสมผสานกับศิลปะอินเดียมี 2 ขนาดคือ
(1.1) ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระศกขมวดประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวหงาย มีชายผ้าทิพย์และฉัตร 3 ชั้นอยู่ด้าน หน้ามีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (ในบันทึกการจัดสร้างมิได้ระบุจำนวนสร้างจึงไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด)
(1.2) ขนาดหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว พระศกเป็นมวยมุ่นประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ มีชายผ้าทิพย์และมงกุฎมีพานรองรับฉัตร 7 ชั้นมีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระสังฆราชอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (มิได้ระบุจำนวนสร้างเช่นกัน)
2. “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะประยุกต์ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและอินเดีย แต่พระศกจะสลวยแบบศิลปะคันธาระของอินเดียมีทั้ง “ปางมารวิชัย” (คว่ำพระหัตถ์) และ “ปางประธานพร” (หงายพระหัตถ์) มี 3 ขนาดดังนี้
(2.1) “พระกริ่งพิมพ์ใหญ่” ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ ด้านหลังมีตรามงกุฎและฉัตร 5 ชั้น ใต้ฐานมีแผ่นทองปิดปั๊มอักษรว่า “มกุฏฺขตฺติยารามสฺส วสฺสสต” หมายความว่า “ครบ 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม” และมีอักษรขอมอยู่ใต้ฉัตร 3 ชั้น (ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช) และมีเลขลำดับประจำองค์พระตอกอยู่ด้านล่าง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองวัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี
(2.2) “กริ่งพิมพ์เล็ก” มีขนาดหน้าตัก 1.8 เซนติเมตรเป็น ปางประทานพร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เหมือนกับพระกริ่งใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ครบ 70 พรรษา
(2.3) “พระกริ่งพิมพ์พิเศษ” ขนาดหน้าตัก 1.4 เซนติเมตร ปางประทานพร รายละเอียดก็เฉกเช่นกันกับพระกริ่งพิมพ์ใหญ่แต่ไม่มีหมายเลขประจำองค์พระสร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณเป็นพิเศษ โดยพระกริ่งทั้ง 3 ขนาดนี้มี “พิมพ์ใหญ่” เท่านั้นที่สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” เพียงเนื้อเดียวส่วน “พิมพ์เล็ก” และ “พิมพ์พิเศษ” สร้างไว้ 2 เนื้อคือ “ทองคำ” และ “นวโลหะ” จำนวนเท่าใดมิได้ระบุเช่นกัน
3. “พระชัยวัฒน์” พระชัยวัฒน์มีขนาดหน้าตักกว้าง 1 เซน ติเมตร สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “ทองคำ” เป็นปางประทานพรที่ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงประกอบพิธีเททองหล่อเป็นปฐมฤกษ์ในพิธี พุทธาภิเษกครั้งที่ 2 ดังกล่าวมาแล้ว
4. “เหรียญที่ระลึก” จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในพิธีฉลอง วัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี และ พระชนมายุ 70 พรรษา สมเด็จพระสังฆราช (จวน) มีรายละเอียดดังนี้
(4.1) “เหรียญกลม” ด้านหน้าเป็น พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีตรามงกุฎแวดล้อมด้วยฉัตร 5 ชั้นทั้งสองด้านและมีอักษรว่า “สมโภช 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม 2511” และ
(4.2) “เหรียญมน” ด้านหน้าเป็น พระรูป สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีฉัตร 3 ชั้นเหนือลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” และ “ฉลองพระชนมายุ 70 พรรษา 2411”
สนใจติดต่อได้ครับ ฟรีค่าจัดส่ง รับประกันความแท้ครับ
 
หน้าแรก | รายการพระเครื่อง | ประมูลพระเครื่อง | วิธีการประมูล | ราคา BID CARD | อัตราค่าพื้นที่โฆษณา | เว็บเพื่อนบ้าน

สนใจลงโฆษณาคลิกที่นี่
Copyright 2013© www.prakrueng.com
ศูนย์รวมร้านพระเครื่องมาตรฐาน
ที่อยู่ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
โทร. -
Email webmaster@prakrueng.com